เรื่องน่ารู้ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคนเลยนะคะ วันนี้เรามาพร้อมกับสาระความรู้กันอีกเเล้ว เเน่นอนว่าเป็นเรื่องรอบตัวที่เราควรรู้ไว้ เราก็ได้เปรียบด้วยนะ
ซึ่งเรื่องที่เรากำลังจะพูดถึงนั้นก็คือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีค่ะ อ๊ะ!! ก็จะมีบางคนที่จะรู้สึกเเหละว่า น่าเบื่อเเน่นอน
เเต่ เเต่ !!! อย่าเพิ่งรับหนีกันก่อนนะทุกคน เพราะมันไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คิด เเละอีกอย่างเพื่อน ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องของภาษีได้ค่ะ
ถ้าอยากรู้เเล้วว่า กฎหมายมันจะเอาไปใช้กับภาษี แล้วจะช่วยเราได้อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ โกววว!!
- เราต้องบอกก่อนว่า การเสียภาษีนั้น เป็นเรื่องที่เราทุกคนควรทำ ซึ่งในกฎหมายก็ได้กำหนดเอาไว้ด้วยเช่นกัน มันเป็นหน้าที่ที่เราควรจะทำ รวมไปถึงการยกเว้นภาษีนั้น ก็อยู่ในเรื่องของกฎหมายด้วยนะ

- ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับการยกเว้นภาษี เพียงเเต่มันมีวิธีการของมันอยู่ค่ะ(ที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยนะ) เพราะฉะนั้นเเล้ว เพื่อที่เราจะเสียภาษีได้อย่างถูกต้องเเละครบถ้วน เราไปรู้จักกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีกันเลยค่ะ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้เเก่ ประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นกฎหมายที่รวบรวมการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรไว้ทั้งหมด
โดยทั่วไปเเล้ว การบังคับใช้กฎหมายจะต้องมีความสอดคล้องกันของกฎหมายเเต่ละฉบับด้วย ซึ่งตัวของประมวลรัษฎากรจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี การยกเว้นภาษี เช่น การเช่าต้องเสียภาษียังไง หรือการให้ในบางกรณีไม่อยู่ในข้อที่จะต้องเสียภาษี เป็นต้น
เเต่หลักทั่วไปของกฎหมาย เช่น การเช่า การให้ คืออะไร มีความเเตกต่างกันอย่างไร เเบบไหนถึงจะเป็นการเช่า เเบบไหนถึงจะเป็นการให้ ซึ่งในประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติไว้ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องศึกษาในกฎหมายอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้รู้ถึงความสอดคล้องเเละการบังคับใช้กฎหมายด้วย
เห็นไหมคะว่า การศึกษาเรื่องกฎหมายนั้น ที่จริงเเล้ว เราควรรู้ไว้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียสิทธิของเราเองค่ะ โดยเฉพาะเรื่องเงิน ถ้าหากเราศึกษาเรื่องภาษีให้ละเอียดเเล้ว
เราอาจจะวางเเผนภาษี เพื่อให้เราเสียภาษีน้อยลง เเล้วนำเงินเหล่านั้น ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ค่ะ เรียกว่า เอาเงินไปพัฒนาชีวิตเราส่วนอื่นเเทนก็ได้เหมือนกัน
#ภาษี #การรักษาสิทธิของตนเอง #ควรรู้ด้านกฎหมาย