มาทำความรู้จัก “โรคแพนิค” โรคที่เป็นได้โดยไม่รู้ตัว
หลายคนมักจะเคยได้ยินคำว่า “อย่ามาแพนิคน่ะ” แพนิค(Panic)ในภาษาอังกฤษแปลว่าตื่นตกใจ ซึ่งการแพนิคนี้ถือโรคชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นโรคที่เกิดจากความวิตกกังวลจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
โดยโรคนี้ไม่ได้เป็นแค่นิสัยขี้ตระหนกตกใจเพราะเกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ที่ควบคุมการทำงานหลายส่วนของร่างกาย ทำให้เมื่อเกิดการแพนิคมักจะก่อให้เกิดอาการร่วมด้วย เช่น หายใจไม่ทัน ใจสั่น แน่นหน้าอก ท้องไส้ปั่นป่วน หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกเยอะ วิงเวียน และจะรู้สึกหวาดกลัวหวาดระแวงกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่ดีกับตัวเอง อาการแพนิคจะเกิดขึ้น 10-20 นาที

แต่สำหรับผู้ป่วยบางท่านจะเกิดการแพนิคนานเป็นชั่วโมง สาเหตุของคนที่เกิดโรคแพนิคนั้นมีหลายปัจจัยที่เข้ามาเป็นตัวกระตุ้น
- “อะมิกดาลา” (Amygdala) สมองที่ควบคุมความกลัวมีการทำงานผิดปกติ
- พฤติกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันที่ก่อให้เกิดความเครียด วิตกกังวล เช่น การทำงานหน้าจอคอมเป็นเวลานาน การเล่นมือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน การพักผ่อนน้อย การเรียนการทำงานที่อยู่ในสภาวะกดดัน
- กรรมพันธุ์
- ความเครียดสะสมจากสังคม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ครอบครัว เพื่อน คนรัก การเรียน การทำงาน การสอบ การสูญเสีย การคาดหวังที่ผิดหวัง
- การใช้สารเสพติด
- รู้สึกชาที่นิ้วมือหรือเท้า
- ความผิดปกติของฮอร์โมน
หากพูดถึงโรคแพนิคนั้นไม่ได้เป็นโรคที่อันตรายแต่ถึงยังไงโรคนี้ก็ต้องได้รับการรักษาเพราะถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวเอง สามารถรักษาได้ด้วยการทานยาเป็นการปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่มีการทำงานผิดปกติควบคูมไปกับการรักษาทางจิตใจเพื่อเป็นการปรับทัศนคติ แนวคิดของผู้ป่วยและคนรอบข้างที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดคอยซัพพอร์ตอยู่เสมอพูดให้กำลังใจอย่าตัดพ้อชีวิต

นอกจากการรักษาทั้งสองแบบแล้วเพื่อนๆสามารถฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติที่จะช่วยลดความเครียด ความกังวลลงได้ และสิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ถือว่างผลอย่างมากและต้องคอยดูแลตัวเอง เช่น การพาตัวเองไปเจอสังคมที่ดีมีความสุข พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์นานเกิดไป หลีกเลี่ยงสถานการณ์ตึงเครียดและกดดัน การทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันเพราะจะมีอาหารบางประเภทที่ผู้ป่วยควรเลี่ยง เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ ลูกอมขนมหวาน อาหารแปรรูปและครีมเทียม
แต่ถ้าหากว่าผู้ป่วยไม่รักษาและไม่ดูแลตัวเองอาการแพนิคจะเป็นหนักขึ้นอาจจะก่อให้เกิดการเป็นโรคซึมเศร้าที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายได้ ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือการพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ
ภาพจาก : vichaiyut, eventpass
#การดูแลสุขภาพเบื้องต้น #รักสุขภาพ #วิธีดูแลสุขภาพ #ลดน้ำหนัก #กีฬา #โรคแพนิค