แก้สะอึก อาการที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้
เคยหรือไม่ นั่งอยู่ดีๆ ก็เกิดอาการสะอึกขึ้นมาเสียอย่างนั้น แถมทำอย่างไรมันก็ไม่หายไปอีกด้วย มันเป็นอาการที่ไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงอะไรต่อร่างกายของเรา ไม่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดด้วยซ้ำไป แต่ต้องยอมรับเลยว่ามันเป็นอาการที่น่ารำคาญไม่น้อยเลยทีเดียว เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงอีกด้วย เป็นสิ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในช่วงเวลาสำคัญอย่างเช่นการพรีเซนต์งาน

วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปดูกันว่ามีวิธีการแก้สะอึกอย่างไรและเพราะเหตุใดเราจึงสะอึก
– เปิดวิธีการแก้สะอึกแบบเห็นผลชัดใน 3 นาที

- หายใจในถุงกระดาษ วิธีการคือนำเอาถุงครอบบริเวณจมูกและปาก จากนั้นให้ทำการหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ ให้ถุงหุบเข้าออก วิธีการดังกล่าวจะช่วยควบคุมปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ส่งผลต่อการสะอึกของเรา อย่างไรก็ตามหากไม่มีถุงกระดาษเราขอแนะนำว่าไม่ควรใช้ถุงพลาสติกแทน
- กลั้นหายใจ เป็นวิธีการคลาสสิคที่ใช้ได้ผลอยู่เสมอ แถมยังทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ให้ยุ่งยากอีกด้วย เพียงแค่หายใจเข้าให้ยาวที่สุดจากนั้นก็กลั้นหายใจประมาณ 10 ถึง 20 วินาที จากนั้นให้หายใจออกแบบช้าๆ ถ้ายังไม่หายสามารถทำซ้ำได้เรื่อยๆ
- นอนราบ หากกลั้นหายใจแล้วยังไม่หายเราขอแนะนำวิธีการให้คุณนอนราบลงไปกับพื้นบนพื้นที่ไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป วิธีการดังกล่าวจะเกิดแรงกดทับที่บริเวณกระบังลมและช่องอก สามารถแก้สะอึกได้เป็นอย่างดี
- นั่งกอดเข่า วิธีการคือนั่งลงบนพื้นราบให้รู้สึกผ่อนคลาย หลังจากนั้นทำการขดขาเข้ามาหาตัวเองแล้วนำเอามือโอบรอบเข่าทั้งสองข้างให้ชิดกับหน้าอก ค้างทิ้งไว้เป็นเวลา 2 นาทีอาการสะอึกก็จะหายไป
- ดื่มน้ำ ขอแนะนำให้ใช้เป็นน้ำเย็นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มากกว่าเดิม วิธีการคือดื่มน้ำเย็นเข้าไปโดยวิธีการจิบ จะช่วยกระตุ้นประสาทให้สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติอีกครั้ง
- น้ำมันหอมระเหย เป็นสิ่งที่ช่วยให้ระบบหายใจสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติอีกครั้ง แนะนำให้เลือกใช้น้ำมันหอมระเหยที่กลิ่นไม่ฉุนมากจนเกินไปจะช่วยกระตุ้นร่างกายได้เป็นอย่างดีโดยไม่ทำให้โครงจมูกได้รับอันตราย

– เปิดสาเหตุก่อนแก้สะอึก เพราะอะไรเราจึงสะอึกกัน
ก่อนที่จะไปแก้สะอึกเราจะพาทุกคนมาดูกันว่าเพราะเหตุใดเราจึงเกิดอาการสะอึกขึ้นมา สาเหตุเกิดได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัดโดยเฉพาะรสเผ็ด การหายใจเอาควันเข้าไปอย่างเช่นอยู่หน้าเตาหรือการสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารเร็วเกินไป อิ่มเกินไป การดื่มเครื่องดื่มที่มีก๊าซมากจนเกินไปอย่างเช่นน้ำอัดลมหรือเบียร์ มีการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของอุณหภูมิในกระเพาะอย่างเช่นการดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดเย็นจัด
ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถเกิดจากปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ การใช้ยา รวมไปถึงโรคต่างๆ อีกด้วย
Cr.ch9airport.com
#ข่าวสาร #ความรู้ #สุขภาพ #ครอบครัว #กีฬา #ออกกำลังกาย #วิธีแก้สะอึก