การดื่มแอลกอฮอล์จะไปยับยั้งสารนอร์อิพิเนฟริน
ในรายงานฉบับล่าสุด นักวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ซานอันโตนิโอ รายงานว่า ผู้ดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้สารเคมีในสมองมีปัญหาขึ้นได้ โดยเฉพาะการให้ความสนใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการปลดปล่อยนอร์อิพิเนฟรินไปยังเซลล์ลดน้อยลง การที่ระดับฮอร์โมนนอร์อิพิเนฟรินลดลงนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า และโรคความดันในเลือดต่ำได้

– ความสำคัญของนอร์อิพิเนฟริน
นอร์อิพิเนฟริน คือ สารเคมีธรรมชาติในร่างกายชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อภาวะเครียด และเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทระหว่างเส้นประสาท เมื่อสารชนิดนี้จะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด จะทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนตอบสนองต่อภาวะเครียดเมื่อสมองรับรู้ว่ามีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น นอกจากนั้นนอร์อิพิเนฟรินยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้สมองให้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ
แล้วยังเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้น การมีระดับของนอร์อิพิเนฟรินลดลงจึงทำให้เกิดภาวะต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า และโรคความดันในเลือดต่ำ

– การทำงานของนอร์อิพิเนฟริน
เมื่อเราต้องการจดจ่อกับบางสิ่งบางอย่าง หรือเมื่อเราลุกขึ้นจากเก้าอี้และเริ่มกระฉับกระเฉงขึ้นมานิวเคลียสของก้านสมองจะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า นอร์อิพิเนฟริน ออกมาตอบสนอง แต่ทว่าการสัมผัสแอลกอฮอล์แบบเฉียบพลันจะยับยั้งสัญญาณนี้ในสมอง เมื่อร่างกายต้องให้ความสนใจในการทำงาน สารนอร์อิพิเนฟรินจะหลั่งออกมาจากโครงสร้างสมองที่เรียกว่า โลคัสโคเอรูลัส ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ไม่เข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในลำดับต่อไปจากนั้น
แต่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซานแอนโทนิโอได้แสดงให้เห็นว่า นอร์อิพิเนฟริน ยึดติดกับตัวรับในเซลล์ที่เรียกว่า เบอร์กแมนน์ เกลีย สิ่งนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของแคลเซียมในเซลล์เหล่านี้ เบอร์กแมนน์ เกลีย เป็นเซลล์สนับสนุนในซีรีเบลลัมซึ่งเป็นบริเวณใกล้ก้านสมอง แต่เมื่อดื่มแอลกอฮอล์จนมึนเมา การกระตุ้นแคลเซียมส่วนใหญ่จะถูกยับยั้งทั่วทั้งสมอง
โรคซึมเศร้าถือเป็นภาวะที่ร้ายแรงหนึ่งทางการแพทย์ ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึก ความนึกคิด และการกระทำของบุคคลนั้น บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าอาจใช้ยาในกลุ่มของ serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) ซึ่งยาดังกล่าวจะช่วยเพิ่มระดับของนอร์อิพิเนฟรินและเซโรโตนิน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสารสื่อประสาทในสมอง ดังนั้นผลงานวิจัยนี้ช่วยให้เข้าใจการทำงานของซีรีเบลลัม และผลของแอลกอฮอล์ในการยับยั้งการเพิ่มขึ้นของแคลเซียมในเบอร์กแมนน์ เกลีย

นอกจากนั้นการค้นพบนี้ยังไปสอดคล้องกับข้อเสนอแนะในปัจจุบันที่ว่า ซีรีเบลลัมยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเบอร์กแมนน์ เกลีย ที่ไม่เพียง แต่สนับสนุนการบำรุงสมองขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังสามารถมีส่วนร่วมในการทำงานของความรู้ความเข้าใจได้อีกด้วย
เครดิตภาพจาก pixabay.com
#ข่าวสาร #ความรู้ #สุขภาพ #ครอบครัว #กีฬา #ออกกำลังกาย #ข้อเสียของแอลกอฮอล์