หากทานเค็มมากไป จะเกิดอาการเหล่านี้

การทานเค็มมากไปหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง อาจจะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ไม่ว่าจะเป็นอาการบวมของอวัยวะต่าง ๆ ในร่ายกาย หรือทำให้หัวใจเต้นแรงและเร็ว ก่อให้เกิดโรคไต และโรคมะเร็งขึ้นได้
นอกจากนี้อาจจะมีผลกระทบต่อความดันโลหิตที่พุ่งสูงจนทำให้นอนหลับไม่สนิท หรืออาจจะมีผลกระทบต่อการทำงานของไตทำให้ไตพังได้ ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าเกลือเป็นของไม่ดี แต่ควรเลือกทานให้เหมาะสมไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
เกลือที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้มีส่วนผสมหลักคือ โซเดียม ซึ่งโดยปกติร่างกายของคนเราต้องการโซเดียมหรือเกลือแร่ เพื่อช่วยในการปรับสมดุลของความดันโลหิต ส่งผลให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ไม่เป็นตะคริว เป็นต้น หากทานเกลือในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ระบบการทำงานต่างของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล เมื่อทานเค็มมากไปจะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้
ซึ่งตามปกติโซเดียมเป็นสารอาหารที่พบได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เมื่อเพิ่มปริมาณโซเดียมด้วยการปรุงรสจะทำให้มีปริมาณมากจนเกินความพอดี เมื่อทานมากเกินไปจะทำให้ระบบการทำงานของไตหนักจนไปอาจจะทำให้เป็นโรคไต เมื่อไตมีปัญหาหรือไตเสื่อมสภาพอาจจะต้องฟอกไตไปตลอดชีวิต หรือโรคอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ตามมาได้

– นอกจากเกลือ มีอาหารบางอย่างที่ทำให้เพิ่มการทานเค็มมากไป
- อาหารและของปรุงรส เช่น น้ำมา ซีอิ๊ว อาหารหมักดอง หรือตากแห้ง เช่น เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า พืชผักผลไม้ดองเป็นต้น
- ผงชูรส แม้ว่าจะไม่รสชาติเค็ม แต่ว่ามีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ อาหารที่วางจำหน่ายทั่วไปจึงมีโซเดียมเป็นส่วนผสมแทบทุกชนิดทำให้ทานเค็มมากไปจากการทานอาหารเหล่านี้
- อาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาด ขนมกรุบกรอบ ล้วนมีส่วนผสมของเกลือเป็นส่วนประกอบหลัก ๆ
- ผงฟู ขนมที่มีส่วนผสมของผงฟูจะมีโซเดียมเป็นส่วนผสมอยู่ เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง รวมถึงแป้งสำเร็จรูป เป็นต้น

– ทานเค็มมากไป จะมีผลเสียต่อร่างกาย
1. เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ถึงว่าแม้โซเดียมจะมีความจำเป็น หากทานทานเค็มมากจนเกินไป จะทำให้เกิดภาวะคั่งของน้ำและเกลือในส่วนต่าง ๆ ได้เช่น แขน ขา หัวใจ ปอด ทำให้มีอาการบวมเกิดขึ้น มีอาการเหนื่อยได้ง่าย แน่นบริเวณหน้าอก นอนราบไม่ค่อยได้ ในส่วนของผู้ป่วยโรคหัวใจ อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ง่ายขึ้นด้วย
2. ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไต คนอ้วน รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะก่อให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจ และสมอง เกิดการตีบตัน เป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเมื่อทานโซเดียมที่เหมาะสม ร่วมกับการทานยาลดความดันโลหิต จะทำให้ร่างกายเกิดสมดุลได้
3. มีผลกระทบต่อไต เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมสูงจะทำให้ไตทำงานหนัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกิน มีผลทำให้เกิดความดันในกรวยไตเพิ่มสูงขึ้น เกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ และกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนบางชนิดที่ทำให้ไตเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้นด้วย
4. โรคมะเร็ง จากงานวิจัยพบว่าทานเค็มมากไป จะทำให้แบคทีเรียในท้องเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายให้เยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงแนวความคิดจากการวิจัยเท่านั้น ข้อเท็จจริงต้องมีการพิสูจน์ให้แน่ชัดกันต่อไปว่าเกลือจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้จริงหรือไม่อย่างไร
การทานเค็มมากไป จะกระตุ้นทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพได้ง่ายและเร็วขึ้น โดยทั่วไปแล้วร่างกายไม่ควรรับโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1 ช้อนโต๊ะเท่านั้น ซึ่งการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ อาจจะมีโซเดียมผสมอยู่ในปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว ควรเลือกทานอาหารมื้อย่อย หรือขนมขบเคี้ยวที่จะช่วยไม่ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากจนเกินความต้องการจะเป็นผลดีต่อตัวเอง ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทานเค็มว่าปริมาณที่เหมาะสมควรมีเท่าไหร่
นอกจากนี้การอ่านฉลากของอาหารแต่ละชนิดว่ามีส่วนผสมของโซเดียมมากน้อยเพียงใดก็จะช่วยได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทานโซเดียมครบตามที่ร่างกายต้องการไม่มากจนเกินไป จนก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ในอนาคต
เครดิตภาพ : siamrath.co.th / promotions.co.th / today.line.me
https://www.youtube.com/watch?v=XpZZkP574dk EP156 : 7 สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อท่านกินเค็มมากเกินไป
https://www.youtube.com/watch?v=8bD3X6gANYc กินสบายไต แค่เข้าใจโซเดียม
#ข่าวสาร #ความรู้ #สุขภาพ #ครอบครัว #กีฬา #ออกกำลังกาย #อาหารรสเค็ม