วัดความแตกต่าง โรคซึมเศร้า หรือ แค่อารมณ์
ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า ประมาณ 1.5 ล้านคน หรือร้อยละ 2.2 ของประชากร และเป็นเรื่องที่น่าคิดว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายมีสูงถึง 4,000 คนต่อปี สาเหตุส่วนใหญ่มาจากอาการของโรคซึมเศร้า

– เกิดจากอะไรทำไมต้องเป็น “โรคซึมเศร้า”
หลายปัจจัยที่เกิดขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทำให้มีคนเครียดเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย ทั้งจากปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พันธุกรรม โรคประจำตัวและสารเสพติด ส่วนด้านสังคมและลักษณะนิสัย เช่นการมีความเครียด มองโลกในแง่ลบ
และเกิดจากความผิดปกติจากระบบประสาท 3 ชนิดร่วมด้วย คือ ซีโรโตนิน นิร์เอปิเนฟริน และโดปามิน ซึ่งเกิดมาจากความผิดปกติของสมองในด้านความคิด ความรู้สึก อารมณ์ และสุขภาพ อาจจะมีอาการจากความผิดหวัง เสียใจ หรือการได้รับการกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจอย่างรุนแรง
แม้ว่าจะสามารถให้กำลังใจเพื่อแก้ไขรักษาได้ แต่ต้องปรึกษาจิตแพทย์ให้วินิจฉัยรักษาให้ถูกวิธี บางรายอาจจะต้องใช้ยาร่วมด้วย โรคซึมเศร้ามีหลายประเภท ได้แก่ ประเภทเมเจอร์ ดีเพรสชั่น ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข หรือไม่สนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ อาจจะหูแว่วประสาทหลอน ควรเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นโรคนี้ ก่อนจะลุกลามจนคิดฆ่าตัวตายตามมาได้
ประเภทดิสทีเมีย ความรุนแรงมีน้อยกว่าประเภทแรก แต่มีอาการต่อเนื่องยาวนาน อย่างน้อย 2 ปี และประเภทเกิดก่อนมีระดู เป็นประเภทที่มีความรุนแรงน้อยที่สุด สาเหตุมาจากความเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้รู้สึกเครียด กังวล สมาธิสั้น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เป็นต้น

– โรคซึมเศร้า หรือแค่อารมณ์
ต้องแยกแยะให้ออกระหว่างอาการของโรคซึมเศร้าหรือแค่อารมณ์พาไป หากพบว่ามีอาการเหล่านี้มากกว่า 5 ใน 9 ข้อ แปลว่าอาจจะเข้าข่ายการเป็นโรคซึมเศร้าอย่างแน่นอน ได้แก่
1. เหงา เศร้า ท้อแท้ เบื่อหงุดหงิดง่าย
2. ไม่อยากทำในสิ่งที่เคยทำเป็นประจำ
3. นอนไม่หลับ วิตกกังวล
4. พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป น้ำหนักขึ้นลง ผิดสังเกต
5. กระวนกระวาย มีอาการเนือยนิ่งอย่างเห็นได้ชัด
6. หมดเรี่ยวแรง อยากนอนเฉย ๆ ไม่อยากจะทำอะไร
7. รู้สึกไร้ค้า โทษตัวเองเสมอ รู้สึกผิดในสิ่งที่ได้ทำลงไป
8. ขาดสมาธิในการทำเรื่องต่าง ๆ
9. คิดอยากตาย หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อย ๆ
เมื่อพบอาการเหล่านี้มากกว่า 5 ข้อ เกิดขึ้นกับตัวเองควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยรักษา ก่อนที่จะเพิ่มความรุนแรงได้ จากแค่อารมณ์แปรปรวน อาจกลายไปเป็นโรคซึมเศร้าและมีผลต่อจิตใจในอนาคตได้
ปัจจุบันเราได้เรียนรู้ และรู้จักกับโรคซึมเศร้ามากขึ้นพอประมาณ แต่ก็ยังไม่สามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายได้ เพราะอาจจะคิดว่าเป็นเพียงอารมณ์ที่เกิดของแต่ละบุคคล และไม่รู้ว่าเกิดอาการซึมเศร้ามากกน้อยเพียงได ดังนั้นควรหันมาสังเกตอาการของคนรอบข้างให้มากขึ้น การให้กำลังใจเป็นสิ่งที่พึงทำเป็นสิ่งแรก เพราะบางทีอาจจะช่วยลดการฆ่าตัวตายของคนเหล่านั้นให้น้อยลงได้
เครดิตภาพ : kettree.go.th / phukethospital.com
#ข่าวสาร #ความรู้ #สุขภาพ #ครอบครัว #กีฬา #ออกกำลังกาย #โรคซึมเศร้าหรือแค่อารมณ์